ปัญหาทางการได้ยินไม่ได้เกิดกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่อาจเกิดได้กับบุคคลทุกวัย อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตและการทำงานที่อยู่ท่ามกลางมลภาวะทางเสียงไม่เท่ากัน รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย อาการ หูตึง หรือประสาทหูเสื่อม มีความรุนแรงหลายระดับตั้งแต่ได้ยินเสียงไม่ชัดเจนจนถึงขั้นหูหนวกและสูญเสียการได้ยินแบบถาวร บทความนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ว่า ประสาทหูเสื่อมมีอาการเป็นอย่างไร พร้อมแนวทางการรักษาและดูแลตัวเองไม่ให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ตามมา
ประสาทหูเสื่อมอาการเป็นอย่างไร ส่งผลต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง
อาการหูตึงในระยะเริ่มต้นนั้นอาจสังเกตได้ยาก เพราะยังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากนัก อย่างไรก็ตาม หากเริ่มมีอาการเหล่านี้แม้แต่ข้อเดียว อย่าชะล่าใจ ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดทันที
-
มีปัญหาด้านการได้ยิน เช่น
-
ได้ยินเสียงไม่ชัด และมักต้องขอให้คู่สนทนาพูดใหม่อีกครั้ง
-
รู้สึกว่าเสียงอยู่ไกลและต้องใช้มือป้องหูเพื่อให้ได้ยินชัดขึ้น
-
ได้ยินไม่ชัดแม้จะคุยโทรศัพท์ที่ลำโพงอยู่แนบหูจนต้องกดเพิ่มเสียง
-
รู้สึกว่าไม่ค่อยได้ยินอะไรเลย แม้จะอยู่ในสถานที่ที่มีคนเยอะและเสียงดังวุ่นวาย
-
ไม่ค่อยได้ยินเสียงจากธรรมชาติ เช่น เสียงนก จิ้งหรีด
-
-
ได้ยินเสียงรบกวนในหู แม้จะอยู่ในที่เงียบ
-
บางคนอาจได้ยินเสียงกริ่งหรือเสียงหึ่งๆ ในหูตลอดเวลาจนรำคาญ
-
รู้สึกเหมือนมีเสียงแทรกอยู่ตลอดเวลา แม้กำลังสนทนากับผู้อื่นในที่เงียบ
-
-
มีความยากลำบากในการได้ยินเสียงบางโทน เช่น
-
คู่สนทนาที่เป็นเด็กหรือผู้หญิงที่มีเสียงแหลม
-
พยัญชนะบางตัวที่เป็นเสียงลม เสียงนาสิก หรือพยัญชนะที่มีรูปปากคล้ายคลึงกับตัวอื่นจนอ่านปากลำบาก เช่น เสียง ซ ส ท ธ ฮ S T H
-
-
มีปัญหาด้านการพูด อีกหนึ่งอาการที่สังเกตได้ทางอ้อม คือ ผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยินอาจพูดน้อย ไม่ตอบสนอง หรือมีอาการซึม
-
หากเกิดอาการประสาทหูเสื่อมในเด็กจะมีผลกับพัฒนาการการพูด เนื่องจากเด็กไม่มีตัวอย่างในการเลียนเสียง เช่น พูดได้ช้า ไม่ยอมพูด ไม่ขานรับ หรือไม่มีปฏิกิริยากับเสียงต่างๆ
-
หากเกิดกับผู้สูงอายุ อาจทำให้มีอาการซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ยินเสียงคนพูดด้วย จึงพูดน้อยลง รู้สึกไม่อยากพูดกับใคร และอาจพัฒนาไปเป็นโรคทางสมอง เช่น สมองเสื่อม
-
-
มีปัญหาด้านการทรงตัว เช่น เดินเซ หกล้มบ่อยแบบไม่มีสาเหตุ สามารถสันนิษฐานได้ในเบื้องต้นว่าอาจมีปัญหาเรื่องน้ำในหูไม่เท่ากันและมีปัญหาด้านการได้ยิน
ประสาทหูเสื่อมเกิดจากอะไร
ปัญหาด้านการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นอาหารหูตึงหรือหูดับเฉียบพลัน ทั้งแบบถาวรและชั่วคราว มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แบ่งเป็นสาเหตุจากร่างกายของผู้ป่วยเอง และสาเหตุจากสภาพแวดล้อม
สาเหตุจากร่างกาย
-
ความผิดปกติของหู
-
หูชั้นนอก เช่น มีขี้หูจำนวนมาก รูหูตีบตัน
-
หูชั้นกลางหรือเยื่อแก้วหู เช่น มีอาการป่วยจนทำให้ความดันอากาศทำให้ท่อในหูชั้นกลางที่เชื่อมกับโพรงจมูกบวมและตีบตัน มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหูชั้นกลาง เยื่อแก้วหูอักเสบ เยื่อแก้วหูทะลุ
-
หูชั้นใน เช่น เกิดอุบัติเหตุจนกระดูกในหูชั้นในหลวมหรือหลุดออกจากกัน
-
-
ความเสื่อมชราของร่างกาย ทำให้การส่งคลื่นเสียงไปยังสมองไม่มีประสิทธิภาพ
-
โรคหรืออาการอื่นๆ ที่มีผลข้างเคียงทำให้สูญเสียการได้ยิน เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกที่เส้นประสาทหู หรือการติดเชื้อที่หูชั้นในแบบเฉียบพลัน
-
ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด
สาเหตุจากสภาพแวดล้อม
-
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังตลอดเวลาและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น โรงงาน ร้านทำผม ร้านเชื่อมเหล็ก รันเวย์สนามบิน
-
ได้ยินเสียงดังเกินขีดจำกัดที่ปลอดภัย เช่น จากงานคอนเสิร์ต การใส่หูฟังและเปิดเสียงดังเกินไปเป็นเวลานาน
-
เดินทางไปในที่ที่ความกดอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เช่น ขึ้นเครื่องบิน
-
การรับประทานอาหารบางประเภท เช่น เนื้อหมูดิบ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคไข้หูดับและภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-
ยาบางประเภทที่มีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยบางรายหูตึงชั่วคราว เช่น ยาแก้ไข้ ยาแก้ไอ ยาปฏิชีวนะ
วิธีป้องกันอาการประสาทหูเสื่อม
ได้รู้กันไปแล้วว่า ประสาทหูเสื่อมมีอาการอย่างไร และเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ถึงแม้ประสาทหูเสื่อมในผู้สูงอายุจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามความชราของร่างกาย แต่สำหรับบุคคลทั่วไป เราสามารถดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่ให้สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ยังอายุน้อย
-
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่เสียงดังหรือใช้อุปกรณ์ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน หากจำเป็นควรหาอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่ครอบหู หรือที่อุดหู
-
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสียงดังเกินไปจนอาจเกิดอันตราย สำหรับการฟังเพลงหรือการประชุมออนไลน์ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสมัยนี้ ควรเลือกระดับเสียงที่เหมาะสม หรือเปิดลำโพงแทนการใช้หูฟัง
-
ทำความสะอาดใบหูและรูหูด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรนำวัตถุแหย่ลึกเข้าไปในหู
-
หากมีอาการเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจควรรักษาให้หายอย่างถูกวิธี เลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ และไม่ควรบีบหรือเอามืออุดรูจมูกขณะจาม เพราะอาจเกิดแรงดันย้อนกลับเข้าไปในโพรงจมูกซึ่งเชื่อมต่อกับหูชั้นกลาง
-
ตรวจเช็กสุขภาพกายเพื่อดูว่ามีความเสี่ยงในโรคที่อาจส่งผลต่อการได้ยินหรือไม่
-
ตรวจสุขภาพหูและทดสอบการได้ยินเป็นประจำโดยแพทย์เฉพาะทางและนักแก้ไขการได้ยิน
ประสาทหูเสื่อมรักษาหายไหม มีแนวทางรักษาอย่างไร
ประสาทหูเสื่อมเป็นอาการที่รักษาให้หายได้ หรือสามารถหายเองได้หากอยู่ในระยะเริ่มต้น เช่น ผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยินแบบเฉียบพลันจากการอักเสบหรือใช้ยาบางชนิด เมื่อรักษาอาการอักเสบนั้นหรือหยุดใช้ยา มักจะกลับมาได้ยินตามปกติ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ประสาทหูถูกทำลายแล้ว อาจไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ 100% โดยมีแนวทางการรักษาตามระดับของความรุนแรง ดังนี้
-
ปรับตัวให้เข้ากับอาการ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นสูญเสียการได้ยิน หรือหูตึงน้อย กล่าวคือ ยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่ค่อยชัด จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพร่างกาย เช่น ระมัดระวังด้านความปลอดภัยมากขึ้น บอกให้คนรอบข้างเข้าใจเพื่อหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน หัดอ่านปากเพื่อช่วยในการฟัง และรักษาสุขภาพให้ดีเพื่อไม่ให้หูตึงเพิ่มขึ้น
-
ประคับประคอง รักษาแบบประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลงด้วยการฝึกการพูดการฟังอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากหากปล่อยให้ตัวเองไม่ได้ยินเสียงและไม่พยายามสนทนากับคนอื่น อาจทำให้ร่างกายเคยชินกับการไม่พูด ไม่ฟัง ลืมปฏิกิริยาที่ต้องตอบสนองกับเสียง จนพัฒนาเป็นอาการซึมเศร้าหรืออัลไซเมอร์ได้
-
ใช้เครื่องช่วยฟัง นอกจากการปรับตัวและประคับประคองอาการแล้ว แพทย์แนะนำให้ใช้เครื่องช่วยฟังร่วมด้วย เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงชัดขึ้นจนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับระดับปกติแล้ว ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการเดินเซและหกล้ม
-
ผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง กล่าวคือ หูตึงทั้งสองข้างที่ระดับ 70 เดซิเบลขึ้นไป หรือประสาทหูพิการสองข้างตั้งแต่กำเนิด จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียม (Cochlear Implant) โดยต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินและฝึกฝนการฟังผ่านประสาทหูเทียมหลังจากการผ่าตัด เพราะจะไม่เหมือนการได้ยินโดยธรรมชาติ
เพราะการได้ยินสำคัญกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นเพลงโปรด เสียงกระซิบจากบุคคลที่รัก เสียงเตือนเพื่อความปลอดภัย พัฒนาการด้านภาษาและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือเสียงสายลมอ่อนๆ ที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เพื่อไม่ให้เสียงเหล่านี้ต้องดับไปก่อนร่างกายจะร่วงโรย อย่าลืมดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ และตรวจสุขภาพการได้ยินเป็นประจำทุกปี หากมีอาการที่สงสัยว่าจะส่งผลต่อการได้ยินในอนาคต สามารถเข้ามาทดสอบการได้ยิน พร้อมรับคำวินิจฉัยและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน (Audiologist) ได้ที่ ศูนย์การได้ยิน เดียร์ (Dear Hearing) โซน Beauty & Wellness ชั้น 3 ศูนย์การค้า Paradise Park ศูนย์ทดสอบการได้ยินใกล้บ้านย่านศรีนครินทร์ ใกล้ MRT สายสีเหลือง สถานีสวนหลวง ร. 9
ดูแลสุขภาพพร้อมความสะสมทุกความคุ้มค่าด้วย MBK PLUS
ตรวจสุขภาพหูและการได้ยินไปแล้วก็ถึงเวลาเปลี่ยนแต้มเป็นความสุขที่คุณพลาดไม่ได้ ศูนย์การค้า Paradise Park ขอแนะนำ MBK PLUS โปรแกรมสะสมคะแนนสุดพิเศษที่จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้นจากทุกการใช้จ่ายของคุณ เพียงนำใบเสร็จจากร้านค้าภายในศูนย์การค้า Paradise Park หรือธุรกิจในเครื่อ MBK ที่ร่วมรายการมาสะสมคะแนน แล้วนำคะแนนมาแลกรับส่วนลด คูปอง หรือสิทธิพิเศษต่างๆ ได้มากมาย
-
สะสม สุขจุกๆ: ทุกการช้อปมีแต่ได้ สะสมพอยท์เพื่อรับสิทธิพิเศษมากมายแบบจุกๆ
-
แลก สุขจุกๆ: ง่ายขึ้น 1 พอยท์ = 1 บาท แลกรับส่วนลดจุกๆ และความพิเศษทุกไลฟ์สไตล์
-
แชร์ สุขจุกๆ: โอนคะแนนให้เพื่อน แชร์พอยท์ รวมทั้งชวนเพื่อน มาส่งต่อความสุขด้วยกันไม่รู้จบ
สมัคร MBK PLUS ง่ายๆ เพียง Add LINE OA: @mbkplus หรือ คลิก https://lin.ee/D5FyX9j
ตรวจสอบเงื่อนไขการสะสมคะแนนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.paradisepark.co.th/mbkplus.php
อ้างอิง
-
https://www.dear.co.th/hearing-knowledge/หูตึงคือ/
-
https://www.dear.co.th/hearing-knowledge/ผลกระทบการได้ยิน/
-
https://www.dear.co.th/hearing-knowledge/การเลือกเครื่องช่วยฟัง/
-
https://www.dear.co.th/hearing-knowledge/ถาม-ตอบ-เกี่ยวกับ-โรคประ/
-
https://www.dear.co.th/hearing-knowledge/5-เหตุผลตรวจการได้ยิน/