บริษัท พาราไดซ์ พาร์ค จำกัด ตระหนักดีว่าการทุจริตคอร์รัปชันส่งผลร้ายและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและสร้างความไม่เป็นธรรมในทางธุรกิจ ส่งผลเสียทั้งด้านจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และไม่เป็นที่ยอมรับทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ขาดความเชื่อมั่นต่อองค์กร และยังถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอีกด้วย บริษัทฯ จึงถือเป็นหลักการที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่สนับสนุนกิจการ กลุ่มบุคคล หรือบุคคลที่มีส่วนร่วมกับการแสวงหาผลประโยชน์อันไม่พึงได้รับ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
จดหมายแจ้งคู่ค้า CAC-PDP
ถ้อยแถลงจาก CEO ประกอบนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในงานด้านทรัพยากรบุคคล
สารจากกรรมการผู้จัดการ_PDP
1.วัตถุประสงค์ |
มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนี้เป็นแนวทางให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับตระหนักถึง การปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึกในการยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ โดยปราศจากการทุจริตการคอร์รัปชัน หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยจรรโลงไว้ซึ่งชื่อเสียงและเกื้อหนุนต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ |
2.คำนิยาม |
บริษัทฯ หมายถึง
บริษัท พาราไดซ์ พาร์ค จำกัด
การทุจริตคอร์รัปชัน หมายถึง
การกระทำใดๆ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ การยักยอก การฉ้อโกง การเรียกร้อง หรือรับ การเสนอให้ การให้คำมั่นสัญญา การมอบให้ การสนับสนุน ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดกับบุคคลหรือหน่วยงานภาครัฐหรือ หน่วยงานเอกชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้กระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือมีผลต่อการตัดสินใจ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลประโยชน์ที่ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณของบริษัทฯ
การช่วยเหลือทางการเมือง หมายถึง
การช่วยเหลือในนามบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน หรือรูปแบบอื่น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง การช่วยเหลือด้านการเงินสามารถรวมถึงการให้กู้เงิน ส่วนการช่วยเหลือในรูปแบบอื่น (In-kind) เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาส่งเสริมหรือสนับสนุนพรรคการเมือง การซื้อบัตรเข้าชมงานที่จัดเพื่อระดมทุนหรือบริจาคให้แก่องค์กรที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคการเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการสนับสนุนกระบวนการทางประชาธิปไตยที่กระทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด
สินบน หมายถึง
ทรัพย์สินที่มีมูลค่าหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคล/กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นกระทำหรือละเว้น การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง หรือต่อธุรกิจของบริษัทฯ หรือบริษัทฯ ในเครือ
ของขวัญ ของกำนัล หมายถึง
สิ่งของมีค่าทั้งที่เป็นวัตถุ สินค้า และบริการ ไม่ว่าจะเป็นการให้หรือรับโดยตรง หรือให้มีการซื้อขายในราคา พิเศษ รวมทั้งการออกค่าใช้จ่ายในการรับบริการ เช่น การเดินทาง ที่พัก เป็นต้น
การบริจาคเพื่อการกุศล หมายถึง
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินโดยไม่มีผลตอบแทนที่มีตัวตน ยกเว้น การประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป เช่น การติดตราสัญลักษณ์ (Logo) การประกาศรายชื่อบริษัทฯ ณ สถานที่จัดงาน หรือในสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น และเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
การบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ หมายถึง
การใช้จ่ายเงินเพื่อโครงการ กิจกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สังคม กลุ่มประชาชน โดยบริษัทฯ อาจไม่ได้รับผลตอบแทนที่มีตัวตน
เงินสนับสนุน หมายถึง
เงินสนับสนุนที่จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัทฯ
พนักงาน หมายถึง
พนักงานของกลุ่มบริษัท รวมถึงพนักงานประจำ พนักงานทดลอง พนักงานชั่วคราว ซึ่งบริษัทฯตกลงว่าจ้างโดยได้รับค่าจ้าง
ตัวแทนทางธุรกิจ หมายถึง
นิติบุคคลอื่น หรือ บุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่พนักงานของกลุ่มบริษัท ซึ่งกลุ่มบริษัทฯ ได้ว่าจ้างหรือตกลงให้ทำธุรกรรมหรือติดต่อกับบุคคลภายนอกในนามของกลุ่มบริษัท
คู่ค้า หมายถึง
บุคคลที่มีธุรกรรมกับกลุ่มบริษัทฯ เพื่อสนับสนุน หรือส่งเสริมให้เกิดธุรกิจของบริษัทฯ
หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง
-กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ (เช่น กรมสรรพากร กรมที่ดิน ราชการส่วนท้องถิ่น ฯลฯ )
-พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้าราชการทางการเมือง (ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน) ผู้บริหารท้องถิ่น -หน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล (เช่น คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ) -รัฐวิสาหกิจ หรือ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือ องค์กรอื่นๆ ที่รัฐ หรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจ ควบคุม |
3.ขอบเขต |
มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนี้ใช้เป็นแนวการปฎิบัติสำหรับบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย/บริษัทร่วมที่มีอำนาจควบคุม |
4.บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ |
เพื่อให้มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของกลุ่มบริษัทฯ มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน จึงให้กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่ดังนี้
-กำหนดและอนุมัตินโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
-อนุมัติและทบทวนแนวทางปฏิบัติสำหรับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน -กำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ดังนี้
-สอบทานให้บริษัทฯ มีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ
-สอบทานให้มีการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้อำนวยการ มีหน้าที่ดังนี้
-ส่งเสริม สนับสนุน และควบคุมดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีการปฏิบัติตามนโยบาย ต่อต้านการคอร์รัปชัน มาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสื่อสารไป ยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
-ทบทวนความเหมาะสมของระบบงานและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป มีหน้าที่ดังนี้
-ควบคุมและกำกับให้มีการนำมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันไปปฏิบัติได้จริง สามารถระบุความเสี่ยง ตรวจสอบ และบริหารจัดการให้มีมาตรการที่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว และทันเวลา สนับสนุนการพัฒนากระบวนการ รวมทั้งบุคลากรเพื่อให้มาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันขององค์กรบรรลุผล
พนักงาน มีหน้าที่ดังนี้
-ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมถึงมาตรการอื่นๆ (ถ้ามี) และเข้าร่วม การฝึกอบรมตามที่บริษัทฯ กำหนด
-แจ้งเบาะแสทันทีเมื่อพบเห็น หรือสงสัยว่าจะมีการคอร์รัปชัน ให้ความร่วมมือในการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ เกี่ยวข้องกับข้อสงสัยในการกระทำการคอร์รัปชัน -พนักงานต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชันไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม และจะต้องปฏิบัติตามมาตรการ หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัทฯอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะพนักงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่มี -กระบวนการหลัก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน เช่น งานจัดซื้อจัดจ้าง สินเชื่อ งานด้านการขาย การพนักงาน งานสนับสนุน และงานด้านการลงทุน สายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ดังนี้
-ตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย มาตรการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการควบคุมภายในที่หมาะสม และเพียงพอต่อความเสี่ยง ด้านคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
-รายงานผลการปฏิบัติงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการต่อต้านการคอร์รัปชันต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบ ฝ่ายกำกับดูแลกิจการ มีหน้าที่ดังนี้
-ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน
-กำกับการปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน -ประสานงานกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ฝ่ายบริหารกลยุทธ์และระบบงาน มีหน้าที่ดังนี้
-พัฒนาเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน และจัดให้หน่วยงานภายในองค์กรประเมิน ความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน
-ประสานงาน ให้คำปรึกษา และรวบรวมข้อมูลการประเมินความเสี่ยง มาตรการ วิธีการจัดการ และแนวทาง ควบคุมความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง (RMC) พิจารณา -สอบทานข้อมูลผลการดำเนินงานความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน และจัดให้มีการทบทวนความเสี่ยง ด้านคอร์รัปชัน ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล และ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ดังนี้
-บริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันของบริษัทฯ
-จัดให้มีกระบวนการคัดเลือก การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม และบทลงโทษที่เกี่ยวกับการปฏิบัติด้านการ ต่อต้านคอร์รัปชัน -ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการปฏิบัติในแนวทางต่อต้านการคอร์รัปชัน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจ เข้าข่ายคอร์รัปชัน ฝ่ายบัญชีและงบประมาณ และฝ่ายการเงิน มีหน้าที่ดังนี้
-ปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทฯ กฎหมาย และหลักการทางบัญชีและการรายงานทางการเงิน
-รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับ-จ่ายเงิน บันทึกบัญชี และเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ รายการบัญชีรับจ่ายและภาษี โดยจะต้องมีเอกสารแนบครบถ้วนและได้รับการอนุมัติอย่างถูกต้อง -ดำเนินขั้นตอนการปฏิบัติงานทางการเงินและบัญชีให้สอดคล้องกับหลักมาตรฐานการบัญชีที่ได้รับรอง ทั่วไป -ดำเนินการควบคุมการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติงานการเบิกค่าใช้จ่าย คู่มืออนุมัติ ค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงาน และสอดคล้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน ฝ่ายสื่อสารองค์กร มีหน้าที่ดังนี้
-สื่อสาร เผยแพร่ นโยบายและมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างจิตสำนึกใน การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ปราศจากการคอร์รัปชัน
-ให้มีการสื่อสารและรายงานต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการต่อต้านการคอรัปชั่นของบริษัทฯ |
5. กรอบการควบคุม |
5.1 ระบบการควบคุมภายใน 5.3 แนวทางการแจ้งเบาะแส/ ข้อร้องเรียนการคอร์รัปชัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ
E-mail address : asksuvait@mbkgroup.co.th - ทางจดหมายถึงบุคคลดังกล่าวข้างต้น
บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)
444 อาคารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ชั้น 8 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 5.3.3 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ
บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ตู้ ปณ. 444 ปณศ. รองเมือง กรุงเทพฯ 10330 5.3.4 พนักงานพึงต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ และให้ข้อเท็จจริงต่างๆ ต่อกรณีพบเห็นการกระทำที่เข้าข่าย การคอร์รัปชัน 5.3.5 บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่แจ้งเบาะแส หรือปฏิเสธการคอร์รัปชันตามที่ได้กำหนด ไว้ในนโยบายการแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียน |
6. บทลงโทษ |
กลุ่มบริษัท มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของกลุ่มบริษัท มีจิตสำนึกการปฎิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม และทำการสื่อสารเผยแพร่นโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์ัปชั่นฉบับนี้ต่อกรรมการผู้บริการ และพนักงานทุกระดับ และต่อสาธารณชน รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเพื่อยึดถือปฎิบัติอย่างจริงจัง ดังนั้น การละเว้นไม่ปฎิบัติตามถือเป็นการกระทำที่ผิดวินัยตามระเบียบของกลุ่มบริษัท ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัย การไม่รับรู้กับมาตรการนี้ ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ปฎิบัติตามได้ และในกรณีที่การทุจริตคอร์รัปชันส่งผลให้มีความผิดกฎหมาย กลุ่มบริษัท มีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิดนั้น |